ค้นหาร้านอาหาร / ย่าน
รู้หรือไม่💡 ความ(ไม่)ลับของขนมจีน🤫 มีต้นกำเนิดมาจากชาวมอญ
12/02/2023
หลาย ๆ คนก็น่าจะรู้กันอยู่แล้วขนมจีน ที่เรากินอยู่ทุกวันนี้นั้นไม่มีส่วนไหนเกี่ยวข้องกับประเทศจีนเลยแม้สักนิดเดียว ถึงแม้จะมีคำว่าจีนอยู่ในชื่อก็ตาม แต่สงสัยกันไหมคะ ว่าจริง ๆ แล้วเนี่ย ขนมจีนเนี่ยมีต้นกำเนิดมาจากที่ไหน วันนี้ BESTER EATS มีคำตอบ
คนไทยเราคุ้นชินกับการกินขนมจีนมาตั้งแต่โบราณ แต่ละที่ก็มีการคิดค้นน้ำยาที่มากินคู่กับขนมจีนแตกต่างกันตามวัฒนธรรมและวัตถุดิบในแต่ละท้องที่ เช่นทางภาคอีสานก็จะมีขนมจีนน้ำยาป่า ขนมจีนน้ำเงี้ยวของทางภาคเหนือ ขนมจีนน้ำยากะทิของทางภาคกลาง และภาคใต้ก็มีขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ นอกจากขนมจีนแกงเขียวหวาน ที่ถูกนำมาจับคู่และเข้ากันอย่างลงตัว เรียกได้ว่าคนไทยนั้นอยู่คู่กับขนมจีนมาอย่างยาวนานเลยทีเดียว
และด้วยความที่คนไทยนั้นเติบโตคู่มากับขนมจีน หลาย ๆ คนก็คงคิดขนมจีนนั้นอาจจะที่มาจากประเทศจีนตามชื่อ แต่ต้นกำเนิดของขนมจีนนั้นจากคนมอญหรือรามัญต่างหากล่ะค่ะ โดยอ้างอิงจาก คุณพิศาล บุญปลูก ชาวไทยเชื้อสายรามัญผู้สนใจศึกษาอาหารและวัฒนธรรมมอญ ได้กล่าวว่า “คำว่าขนมจีนนั้นเพี้ยนเสียงมากจากคำว่า “คนอมจิน” (ภาษามอญ) โดยคำว่า “คนอม” นั้นหมายถึงการจับกันเป็นกลุ่มก้อนหรืออาหารที่ทำมาจากแป้ง ส่วนคำว่า “จิน” หมายถึงทำให้สุก” เมื่อเรานำ 2 คำมารวมกัน “คนอมจิน” จึงหมายถึงอาหารที่ทำจากแป้งที่จับกลุ่มกันเป็นก้อน แล้วทำให้สุกนั่นเอง
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ก็คงคลายข้อสงสัยกันแล้วใช่ไหมคะว่าทำไมถึงชื่อ “ขนมจีน” ไม่ได้มาหรือเกี่ยวข้องกับประเทศจีนเลย
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://bit.ly/3X8VqA8
https://bit.ly/3jHvSwk
บทความแนะนำ
รู้หรือไม่💡 การกินไข่ ไม่ได้ทำให้เป็นแผลคีลอยด์ 🥚🍳
รู้หรือไม่💡 การกินช็อกโกแลต 🍫 ไม่ได้ทำให้เกิดสิว 🤔
รู้หรือไม่ กินไก่เยอะ ไม่ได้ทำให้เป็นโรคเก๊าท์🐓‼️
10 วิธีทดสอบ 'น้ำผึ้งแท้' ง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน🍯🐝
รู้หรือไม่? ทำไมต้องไหว้ 'ขนมเข่ง' ในวันตรุษจีน🙏🏻🧧
เคล็ด(ไม่)ลับกับวิธีกำจัดมอดขึ้นข้าวสาร🍚
รู้หรือไม่? 'เฟรนช์ฟรายส์' มีต้นกำเนิดจากที่ไหน🇫🇷🇧🇪❓
‘กินผักดิบ’ ได้ประโยชน์มากกว่าปรุงสุก จริงหรือไม่? 🥦🍅🥬🌶🧄🥕🧅🥔
รู้หรือไม่ ? กุยช่ายขาว แตกต่างกับ กุยช่ายเขียว อย่างไร
รู้หรือไม่? ผลไม้บางชนิดไม่ควรทานคู่กัน🍌🥭🍎🥝
เพิ่มเติม
ค้นพบร้านอาหารแนะนำ
พื้นที่
ประเภทอาหาร
รวมบทความแนะนำร้าน
ร้านยอดนิยม
ร้านเปิดใหม่
รีวิวล่าสุด
หน้าหลัก