ราเมงมีต้นกำเนิดมาจากเมนู 拉麵ลาเมี่ยนหรือบะหมี่มือดึง ซึ่งเข้ามาในญี่ปุ่นได้ไม่น่าจะถึง 100 ปี แต่เป็นอาหารมี innovation ล้ำหน้ากว่าอาหารอื่นๆที่มีอายุยาวนานกว่าเช่นเทมปุระ (ก่อนยุคเมจิ) ทงคัทสึ (ยุคเมจิ) จากบะหมี่จับกังสู่อาหารมีเทคนิคการปรุงที่ซับซ้อนและมีการแสวงหารสชาติใหม่ๆอย่างไม่หยุด Shindo Ramen เปิดตั้งแต่ปี 2017 ในคอนเซ็ปต์ตามชื่อร้านคือราเมงวิถีใหม่ (新 Shin = ใหม่, 道 = วิถี ตัวอักษรจีนตัวเดียวกับคำว่าเต๋า) ที่ใช้เทคนิคการทำอาหารแบบตะวันตกเช่นการ sous vide หรือการคิดค้นรสชาติใหม่ๆเช่นการใช้เบสซุปที่นอกเหนือจากโชวยุ เกลือ มิโสะ ถือเป็นวิถีใหม่ที่ตามทันวิถีราเมงของโลกในขณะที่ราเมงส่วนใหญ่ของบ้านเรายังเป็นแบบ traditional คุณโจเจ้าของร้านที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในโตเกียวและได้ศึกษาการทำราเมงมาอย่างหนัก มีความรู้ความเข้าใจในตัวอาหารที่เขาทำอย่างดีมากๆ เมนูที่สะท้อนความเป็นวิถีใหม่ของคุณโจได้มากที่สุดคือเมนู #新道ラーメン #shindoramen ฿169 ที่มาในโจทย์จะทำราเมงยังไงโดยไม่ใช่เกลือ โชวยุ มิโสะ ส่วนเขาใช้วัตถุดิบอะไรขออนุญาติไม่บอก อยากให้ไปชิมกันเอง ซึ่งราเมงตัวนี้จะอยู่ในหมวดเดียวกันกับโชวยุราเมงและราเมงเกลือ โดยคุณโจจะอัพเดทวัตถุดิบเรื่อยๆเมื่อค้นพบว่าวัตถุดิบใหม่เวิร์คกว่าอันเก่า ฉะนั้นราเมงที่คุณทานเมื่อเดือนที่แล้วรสชาติอาจจะไม่เหมือนที่ทานวันนี้ เมนูนี้ใช้เส้นราเมงเส้นเล็กซึ่งเป็นการจับคู่ที่ถูกต้องกับซุปราเมงรสอ่อน (หลักการเดียวกันการการจับคู่เส้นพาสต้าและซอส โดยเส้นที่เล็กกว่าผิวสัมผัสจะเยอะกว่าและพาน้ำซุปหรือซอสเข้าปากได้มากกว่า) น้ำซุปรสชาติโทนประมาณอาหารกวางตุ้ง คล้ายซุปกระเพาะปลาแบบใส ตัดรสด้วยพริกไทยดำเม็ดแบบอาหารฝรั่ง ชาชูแต่ละตัวที่ให้มารสชาติต่างกัน ชาชูซูวีชิ้นหนา รสเนื้อเต็มคำ แฮมหั่นชิ้นบางหอมรมควัน อกไก่นุ่มแทบละลาย #イカスミラーメン #squidinkramen ฿279 ราเมงสเปเชี่ยลของวันพุธ ซุปเบสเกียวไก(กระดูกหมู ไก่ ปลาแห้ง) ผสมหมึกดำ รสชาติเข้มข้ม มีความขมของปลาแห้งมากๆจนเกือบจะเป็นนิโบชิแล้ว (ราเมงซุปปลาแห้งเข้มข้นจนขม) แต่ยังมีรสกลมกล่อมของกระดูกหมูและได่คอยช่วยเลรกอยู่ เส้นใช้เส้นใหญ่ที่เหมาะกับซุปรสเช้มข้น ชามนี้ให้ชาชูซูวีมา 2 ชิ้นซึ่งเข้ากันได้ดีกับซุปเพราะตัวชาชูรสไม่จัดมาก กลิ่นไม่ตีกันกับน้ำซุป